คลังเก็บหมวดหมู่: เศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์จุฬาฯชวนรัฐขยายวงคิดความยั่งยืนผลักดันแรงจูงใจใหม่ให้เอกชน

เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เปิดความท้าทายใหม่ของนักเศรษฐศาสตร์ จากยุคที่เรื่อง ESG ไม่เคยถูกคำนวณในสมการ สู่การผนวกรวมเรื่องความยั่งยืนเข้าไปในทุกนโยบายและทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ชี้การทำงานภายใต้ระบบเดียวกันเป็นกุญแจสำคัญต่อสู้ภาวะโลกรวน

รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในรายการ Econ Connect ว่า ในยุคปัจจุบันเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หลอมรวมกลายเป็นเรื่องเดียวกัน หน้าที่ของผู้กำหนดนโยบายและนักเศรษฐศาสตร์คือต้องเชื่อมต่อและจัดการให้เห็นเป็นภาพเดียว ความท้าทายในวันนี้คือเรื่องภาวะโลกรวนหรือ Climate Change เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้วันนี้แล้วเห็นผลทันตา แต่ทำอย่างไรให้การกระทำในวันนี้ไม่สร้างผลกระทบเชิงลบไปสู่คนรอบข้างและคนรุ่นหลัง

ข่าวเศรษฐศาสตร์

ใครรวยก็ทำไปก่อนเลย จริงหรือ?
รศ.ดร.สิทธิเดช ทำความเข้าใจว่า เรื่องการจัดการความยั่งยืนได้ผ่านกระบวนการลองผิดลองถูกมาระยะหนึ่ง ในอดีตเมื่อ 50-60 ปีก่อน ตั้งแต่ประเทศฝั่งตะวันตกหยิบยกเรื่อง Climate Change ขึ้นมา มีแนวคิดว่าควรให้ภาครัฐเป็นคนจัดการ จึงเกิดเป็น Kyoto Protocol ในปี 1997 แต่กลับมีทั้งประเทศที่ให้ความร่วมมือและไม่ร่วมมือ เพราะยึดติดว่าให้ประเทศที่ร่ำรวยจัดการไป ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาก็ต้องพยุงเศรษฐกิจตนเองให้รอดก่อน จนกระทั่งโลกเข้าสู่ภาวะวิกฤตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2016 จึงมีการปรับแนวคิดใหม่บน Paris Agreement ที่เหมือนเป็นข้อตกลงกึ่งบังคับให้แต่ละประเทศทำตาม และเปลี่ยนจากการให้ภาครัฐเป็นคนทำมาเป็นการใช้กลไกตลาดมากยิ่งขึ้น

“เรื่องความยั่งยืนถูกขยายวงผู้เล่นจากภาครัฐมาสู่ภาคเอกชนและประชาสังคมมากขึ้น เปลี่ยนจากแนวคิดที่ว่ารัฐต้องทำภายใต้เครื่องมือรัฐที่จำกัด เช่น การใช้นโยบายภาษี หรือการกีดกันทางการค้า มาเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจ เครื่องมือทางการเงินจึงกลายมามาเป็นแรงจูงใจรูปแบบใหม่ เช่น Green Finance หรือแนวคิด ESG เข้ามาควบคุมในตลาดทุน”

ESG: บริษัทรวยอาจทำไหว บริษัทเล็กทำอย่างไร?
สมัยนี้แนวคิด ESG (Environmental, Social, Governance) กลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์กรแข็งแกร่งขึ้น ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อสร้างประโยชน์กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีกับการจัดการความเสี่ยงองค์กร ทั้งเรื่องของสิทธิประโยชน์การค้า ภาษี หรือการสร้างความน่าเชื่อถือกับคู่ค้าและลูกค้า อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.สิทธิเดช มองว่า ESG ได้กลายเป็นแนวคิดกระแสหลักของบรรดาธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ภาครัฐควรมีเครื่องมืออย่างอื่นที่ให้คนตัวเล็กหรือคนที่อยู่นอกวงตลาดทุนได้มีส่วนร่วมด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่เครื่องมือ ESG อาทิ แบงก์ชาติกำลังออกเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อสำหรับ SME รายย่อยรูปแบบใหม่ที่จูงใจให้เขาสนใจด้านความยั่งยืนมากขึ้น ธุรกิจรายย่อยก็คือห่วงโซ่ที่สำคัญของธุรกิจรายใหญ่ เราก็หวังว่าบริษัทใหญ่จะส่งผ่านทั้งกำไรและการกำกับดูแลไปยังบริษัทย่อยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน

รศ.ดร.สิทธิเดช ชี้ว่า แม้แต่ในเชิงวิชาการยังถกเถียงกันมากเรื่องการจัดการความยั่งยืน แต่กุญแจสำคัญคือต้องอยู่ในระบบเดียวกัน เพื่อให้แต่ละคนรู้ว่าทำอะไรได้บ้างบนฐานคิดเดียวกัน คนตัวเล็ก ๆ ที่ไม่รู้เลยว่าต้องทำอย่างไร อย่างน้อยก็มีคู่มือให้ได้เป็นกรอบนำทาง อีกทั้งธุรกิจเกิดใหม่หรือสตาร์ทอัพจะได้มีแนวคิดที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น นับเป็นหนึ่งแรงสำคัญที่ช่วยสร้างนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมได้รวดเร็วขึ้น

“เช่นเดียวกับสมัยก่อนที่เราวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจจาก GDP สูตรเดียวกัน ต้องยอมรับว่า GDP มีข้อเสียเยอะ เช่น ไม่ครอบคลุมไปถึงเศรษฐกิจนอกระบบและความเหลื่อมล้ำ แต่อย่างน้อยก็เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เราเปรียบเทียบกันได้ แต่จะไปทำกันแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเจ้า เรื่องความยั่งยืนก็ต้องเป็นลักษณะเดียวกัน”

รศ.ดร.สิทธิเดช ทิ้งท้ายว่า ในเชิงเศรษฐศาสตร์มีการแปลความหมายของความยั่งยืน (Suatainability) ใน 3 มุม มุมแรกคือมองในมิติเวลาปัจจุบัน ต้องไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งต่างๆ มุมที่สองเป็นมิติเวลาในอนาคต ต้องให้คนในอนาคตอยู่ได้โดยไม่แย่ไปกว่าเรา และมุมที่สามคือการจัดการทั้งสองช่วงเวลา ทำอย่างไรให้ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากที่สุด ข่าวเศรษฐศาสตร์แนะนำ>>> วิกรม กรมดิษฐ์ ยกทรัพย์สิน 20,000 ล้านบาท ให้สาธารณะ

วิกรม กรมดิษฐ์ ยกทรัพย์สิน 20,000 ล้านบาท ให้สาธารณะ

นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)

และประธานมูลนิธิอมตะ ระบุ เนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 70 ปี ถือเป็นวาระสำคัญของการวางแผนชีวิต เพื่อส่งต่อความมั่นคงต่อการดำเนินงานของมูลนิธิอมตะอย่างไม่สิ้นสุด จึงได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินส่วนตัวให้กับมูลนิธิอมตะมูลค่ากว่า 95% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ มูลค่า 20,000 ล้านบาท ทั้งที่ดิน คอนโดมิเนียม อาคาร หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัวอื่นๆ เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่กลไกการยกระดับสิ่งแวดล้อม คุณภาพสังคม และเศรษฐกิจไทย

นายวิกรม ระบุว่า ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นสู่ธุรกิจ ยึดมั่นในเป้าหมาย All Win และความมุ่งมั่นของการทำแต่สิ่งดีงามให้ไว้กับทุกคนมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อประสบความสำเร็จในธุรกิจการงานแล้วก็ควรแบ่งผลกำไรกลับคืนสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพน่าอยู่เช่นประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งผมได้นำประสบการณ์ชีวิตตั้งแต่วัยเด็กมาเรียบเรียง มาถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วกว่า 11.6 ล้านเล่ม เพื่อให้สังคมสามารถเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ได้ในโอกาสต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

ดังนั้น การทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินในครั้งนี้ นับเป็นความตั้งใจหลังจากที่ได้เรียนรู้ ฝึกฝนชีวิตกับวิกฤตต่างๆ จนขับเคลื่อนให้ธุรกิจกลุ่มอมตะประสบความสำเร็จในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้เป็นเมืองนวัตกรรมเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิดที่เห็นว่า เกิดมาจากศูนย์และจากไปเป็นศูนย์ ระหว่างศูนย์ควรสร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์และคุณค่าฝากไว้ให้กับสังคมในระยะยาวตลอดไป

ทั้งนี้ มูลนิธิอมตะได้ก่อตั้งเมื่อ 27 ปีที่แล้ว มีโครงการภายใต้วัตถุประสงค์ เช่น โครงการรางวัล “นักเขียนอมตะ”, โครงการทุนเรียนดี, โครงการประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” โครงการด้านนวัตกรรม, โครงการหนังสือดีมีประโยชน์สร้างการเปลี่ยนแปลง และโครงการปรับปรุงอุทยานเขาใหญ่สู่อุทยานมาตรฐานโลกภายในเวลา 10 ปี

ข่าวอื่นๆ “ชีวิตที่คุ้มค่า” ของอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

“ชีวิตที่คุ้มค่า” ของอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

“ชีวิตที่คุ้มค่า” ของอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

สุพริศร์ สุวรรณิก สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

“…ผมหวังอย่างยิ่งว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวผมคงจะไม่เป็นการสร้างแบบอย่างที่ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต แบบอย่างที่ไม่ดีนั้นก็คือผู้ว่าการจะต้องยอมอยู่ภายใต้การครอบงำ เป็นที่พอใจของนักการเมือง จึงจะอยู่ได้ เมื่อใดก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยปราศจากอิสรภาพในการดำเนินนโยบายต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เมื่อไรก็ตามผู้ว่าการจะต้องคอยเอาอกเอาใจนักการเมืองจึงจะอยู่ในตำแหน่งได้ เมื่อนั้นศักดิ์ศรีของธนาคารชาติจะไม่มีเหลือ ทำนบกั้นความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของประเทศจะพังทลายไปอีกทำนบหนึ่ง…”

คำกล่าวที่หนักแน่นมั่นคงข้างต้นนี้เป็นคำกล่าวของ คุณนุกูล ประจวบเหมาะ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยท่านที่ 13 (วาระการดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 พ.ย.2522 ถึง 13 ก.ย.2527) ในจดหมายทิ้งท้ายในวันสุดท้ายของการดำรงตำแหน่ง และบันทึกไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติที่มีชื่อว่า “ชีวิตที่คุ้มค่า” ทั้งนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คุณนุกูล ประจวบเหมาะ ได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบในวัย 93 ปี ผู้เขียนในฐานะที่เคยได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยโดยสังเขปในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการฯ มาถ่ายทอดเพื่อร่วมไว้อาลัยและอุทิศบทความนี้ให้แด่ท่านครับ

อันที่จริง ทั้งก่อนและหลังจากการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คุณนุกูลได้ผ่านงานต่างๆ อย่างหลากหลายทั้งในและต่างประเทศ โดยภาพจำซึ่งหลายท่านที่รู้จักหรือได้ศึกษาประวัติศาสตร์ มักจะมีต่อคุณนุกูลคือ การเป็นข้าราชการที่ดำรงความถูกต้องเที่ยงธรรมยึดหลักความถูกต้องมาก่อนความถูกใจ

ชีวิตที่คุ้มค่า

คุณนุกูลเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในวารสารพระสยาม ฉบับพิเศษ ปี 2556 เพื่อรำลึกถึงสถานการณ์วิกฤติในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ไว้อย่าง น่าสนใจว่า “ผมเป็นผู้ว่าการในช่วงประเทศชาติยากจน ธปท.ก็ร่อแร่ ข้างในก็มีปัญหาบริษัทเงินทุน มีปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด เกิดพร้อมๆกัน ทั้งๆที่ปกติไม่ค่อยเกิดแบบนี้… และปัญหาใหญ่ประการหนึ่งคือ ทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนจำกัด ไม่ได้อู้ฟู่เหมือนทุนสำรองระหว่างประเทศในปัจจุบัน…นอกจากนี้ยังมีปัญหาของบริษัทเงินทุนธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานะง่อนแง่น เช่น เอเชียทรัสต์ที่แบงก์ชาติต้องเข้าไปเทกโอเวอร์ บริษัทเงินทุนที่ต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือ เวลาหาทุนต้องกระเบียดกระเสียร ดูให้รอบคอบมีปัญหาตลอดเวลา หมดปัญหาเก่าก็มีปัญหาใหม่เข้ามา แก้ไขไปทีละขั้นตอน อย่างน้อยก็ทำให้เสถียรภาพทางการเงินดีขึ้น เงินเฟ้อที่สูงเกือบร้อยละ 20 ลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 เมื่อผมออกจากธนาคาร”

ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ผู้เคยร่วมงานใกล้ชิดกับคุณนุกูล ได้กล่าวไว้ว่า “สมัยที่คุณนุกูล เป็นผู้ว่าการแบงก์ชาติ เห็นว่ากระทรวงการคลังใช้จ่ายเงินเกินตัว ท่านได้ทำหนังสือที่เราเรียกกันว่า “กระบี่เขียว” เพราะชอบเซ็นชื่อด้วยหมึกสีเขียว ส่งถึงรัฐมนตรีให้ปรับการคลังให้เข้ารูปเข้ารอย ไม่ทำให้ประเทศล้มละลาย ซึ่งจะส่งผลเสียต่อแบงก์ชาติทุกวันนี้หายากแล้วที่จะมีผู้บริหารประเทศบอกนักการเมืองให้แก้ไขปัญหาแบบนี้”

ในช่วงสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงของคุณนุกูลกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ซึ่งได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ปลดคุณนุกูลพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2527 หลังจากที่คุณนุกูลถูกบีบให้เปลี่ยนแปลงจุดยืน แต่คุณนุกูลเห็นว่าจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี จะกลายเป็นว่า ผู้ว่าการต้องทำให้นักการเมืองพึงพอใจจึงจะอยู่ได้

ขอสดุดีความซื่อสัตย์และความกล้าหาญทางจริยธรรมที่ยืนหยัดไว้ดีแล้วตลอดจนคุณงามความดีที่คุณนุกูลได้สร้างไว้ให้กับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ได้ส่งผลให้ท่านไปสู่สุคติสัมปรายภพครับ.

อ่านข่าวเศรษฐศาสตร์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ประชาชนไม่ใช่ภาระ

ประชาชนไม่ใช่ภาระ

ข่าวเศษฐศาสตร์ ประชาชนไม่ใช่ภาระ

โควิดรอบที่แล้ว รัฐบาลต้องใช้เงินกู้ ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้าน ไม่รวมงบประมาณฉุกเฉิน งบความมั่นคง งบกระทรวงทบวงกรมที่ตัดเอามาแปะ แก้ปัญหาโควิด-19 บานตะไทไปพอสมควร ถึงบ้างไม่ถึงบ้าง เข้ากระเป๋าบ้าง

ทำให้การเยียวยาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำหนดเป็นนโยบายออกมาไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เอาไปอบรม ส่งเสริมความรู้ สารพัด เงินเยียวยาเลยไปติดกับดักอยู่ข้างบน ไม่มีการสร้างงานและใช้เงินผิดวัตถุประสงค์

ที่สำคัญคือเกิดความไม่เท่าเทียมในสังคม

มารอบนี้หนักกว่าทุกรอบที่ผ่านมาหลายเท่า ผลกระทบไม่ใช่แค่ปัญหาเฉพาะหน้า แต่เป็นปัญหาระยะยาว ที่จะเกิดกับสภาพเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ทุนใหญ่ๆย้ายฐานการผลิต เม็ดเงินลงทุนไม่เข้าประเทศ การจ้างงานไม่มี ส่งผลถึงการอุปโภคบริโภคภาคประชาชนลดลง สภาพคล่องการเงินการคลังมีปัญหา ตามมา ลามไปถึงจุดสำคัญมีการเลิกจ้าง ปิดกิจการ กระทบกับรายได้ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวการบริการ รายได้จากภาษีบุคคล นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม วิกฤติเศรษฐกิจซ้อนเป็นวงกลมหลายวง

รายได้มาจากประตูเดียวคือการกู้

เฉพาะการเยียวยาโควิด-19 รอบนี้ ที่มีข่าวว่ารัฐบาล จะต้องกู้เงินเพิ่มอีกจำนวน 3 แสนกว่าล้านบาท เพื่อเอามาเยียวยา ซึ่งถ้ามองในภาพรวมแล้ว การกู้เงินมาใช้จ่าย ก็เท่ากับเป็นการผลักภาระให้กับชาวบ้าน จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้นของรัฐบาลเอง เพราะในที่สุดแล้ว ประชาชน ก็จะต้องเป็นคนรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้น ประชากร มีกี่หัวก็เอาไปหารจำนวนหนี้ทั้งหมด เด็กที่เกิดมายังไม่รู้เรื่องรู้ราว ก็ต้องรับภาระหนี้สินไปด้วย

มีการคำนวณ ทางเศรษฐศาสตร์ จากนักวิชาการด้วยซ้ำไปว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด จะต้องใช้เงินถึง 2.4 ล้านล้านจึงจะได้ผล เพราะพื้นฐานและโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปและได้รับความเสียหายที่เกิดจากผลกระทบของโควิด-19 การส่งออก อุตสาหกรรม ตลาดเงินตลาดทุน ได้รับผลกระทบหมด

จะไปเอางบประมาณขนาดนี้มาจากไหน ก็ต้องกู้อย่างเดียว

งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 จะเข้าสภาในต้นเดือน พ.ค.นี้ ต้องจับตาว่า การจัดสรรงบประมาณ จะสอดคล้องกับ สถานการณ์วิกฤติโควิด-19 หรือยังทุ่มเทให้กับ วัตถุต่างๆในกองทัพจะรับรู้ถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านในยุคข้าวยากหมากแพงค่าแรงถูก หรือจะสนองความต้องการของกลุ่มทุนกลุ่มอำนาจ

ชาวบ้านคงไม่อยากได้อาวุธยุทโธปกรณ์ แต่อยากได้วัคซีนโควิด-19 มากกว่า

ข้อความที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ โพสต์เอาไว้ รัฐสามารถที่จะบริหารกระจายวัคซีนให้กับชาวบ้านได้กว่า 10 ล้านเข็มต่อเดือน เงิน จาก พ.ร.บ.เงินกู้ที่ค้างอยู่อีก 2.5 แสนล้าน ต้องเอามาแก้ปัญหาปากท้องเฉพาะหน้าให้ชาวบ้านด้วยการจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละ 50 แลกกับการที่นายจ้างไม่เลิกจ้างและผู้ที่ได้รับผลกระทบรายละ 3,000 บาทถ้วนหน้า

ข้อสุดท้ายเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหาร ไม่ควรมองว่าประชาชนคือภาระ แต่ประชาชนคือผู้แบกรับภาระ.

ข่าวเศษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง : บิ๊กธุรกิจขอ”ของขวัญปีใหม่”ตรึงค่าไฟ”หากขยับดันเงินเฟ้อพุ่งศก.ไทยเจอ Perfect Stormเพิ่ม

บิ๊กธุรกิจขอ”ของขวัญปีใหม่”ตรึงค่าไฟ”หากขยับดันเงินเฟ้อพุ่งศก.ไทยเจอ Perfect Stormเพิ่ม

บิ๊กธุรกิจขอ”ของขวัญปีใหม่”ตรึงค่าไฟ”หากขยับดันเงินเฟ้อพุ่งศก.ไทยเจอ Perfect Stormเพิ่ม

เศรษฐศาสตร์

บิ๊กธุรกิจจากส.อ.ท. สภาหอฯ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมโรงแรมไทย ตั้งโต๊ะเรียกร้องรัฐบาลขอของขวัญปีใหม่เพิ่ม”ตรึงค่าไฟฟ้า” หวั่นขึ้นพรวดเป็น 5.69 บาทต่อหน่วยดันสินค้าพาเหรดขึ้น 5-12% หนุนเงินเฟ้อปี’66 ขยับเพิ่มอีก 0.5% หอการค้าต่างชาติส่งสัญญาณกังวล หวั่นฉุดลงทุนแห่ย้ายฐานหนี ขีดแข่งขันประเทศวูบ กลุ่มเอสซีจีรับที่สุดค่าไฟขึ้นก็ต้องปรับราคาเพิ่ม

วันนี้(23ธ.ค.) คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) นำโดยผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดแถลงข่าวเรื่อง “ผลกระทบจากการขึ้นค่าไฟและข้อเสนอของภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการ การเงิน หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้จัด พิจารณาผลการคำนวณค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) งวดม.ค.-เม.ย.66 ที่คงอัตราค่าไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยรวมเฉลี่ยที่ 4.72 บาทต่อหน่วยแต่ปรับขึ้นในส่วนของอัคราค่าไฟประเภทอื่นๆโดยเฉพาะภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เป็น 5.69 บาทต่อหน่วย